วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

                สาขาวิชาประถมศึกษา   
                   คณะครุศาสตร์

วุฒิปริญญาทางการศึกษา 
ครุศาสตรบัณฑิต (ประถมศึกษา) 
Bachelor of Education (Elementary Education)
สังกัด
 ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

บุคลิกของผู้ที่เหมาะจะเรียนในสาขาวิชานี้
สนใจทำงานกับเด็กระดับประถมศึกษาทั้งด้านการสอน การจัดกิจกรรม และการเป็นนักวิชาการ
รักเด็ก ต้องการพัฒนาเด็กให้เติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา
มีเมตตา กรุณา อารมณ์มั่นคง ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน พยายามพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
เข้าใจความแตกต่างของเด็ก รักและปฏิบัติต่อเด็กอย่างเท่าเทียมกัน
 ขอบเขตของการเรียนในสาขาวิชา
 วิชาด้านการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.4) เพื่อให้สอนได้ทุกวิชา
กลุ่มวิชาเนื้อหาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น (เลือก กลุ่มตามความสนใจ)
หลักสูตรระดับประถมศึกษา
กิจกรรมพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษา
วิชาด้านบริหารจัดการและการวิจัย 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

คำในภาษาไทย
คำในภาษาไทย
 มี ๗ ชนิด ดังนี้
๑.  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
     ๑.๑  นามทั่วไป หรือสามานยนาม เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คน นักเรียน บุรุษไปรษณีย์ กีฬา
     ๑.๒  นามชื่อเฉพาะ หรือวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล หรือสถานที่ เช่น สมศักดิ์ สุดา มีนบุรี ฉะเชิงเทรา
     ๑.๓  นามบอกลักษณะ หรือลักษณนาม เป็นคำนามบอกลักษณะ เช่น ผล ตัว อัน แท่ง ใบ
     ๑.๔  นามบอกหมวดหมู่ หรือสมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ เช่น โขลง ฝูง หมู่ เหล่า
     ๑.๕  นามบอกอาการ หรืออารการนาม เป็นคำที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า เช่น การวิ่ง ความดี ความจริง
๒.  คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เเทนคำนาม เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ
คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๒.๑  บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เเทนนาม มี ๓ ชนิด ดังนี้
        สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้เรียกแทนผู้พูด เช่น ข้าพเจ้า ฉัน ดิฉัน ผม
        สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกแทนผู้ฟัง เช่น เธอ ท่าน คุณ
        สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้เรียกเเทนผู้ถูกกล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน
๒.๒ สรรพนามชี้ระยะ เป็ฯสรรพนามที่กำหนดให้เรารู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ที่กล่าวถึงนั้นอยู่ในระยะใกล้ไกลเพียงใด เช่น
        นี่ ใช้กับ สิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด
        นั่น ใช้กับ สิ่งที่อยู่ไกลหรือห่าวออกไป
๒.๓  สรรพนามใช้ถาม ใช้เเทนคำนามที่ผู้ถามต้งอการคำตอบ ได้แก่ อันไหน สิ่งใด ใคร อะไร เช่น
        เธอชอบอันไหน
        คุณเลือกสิ่งใดในตู้นี้
๒.๔  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้เเทนคำนามที่กล่าวถึง โดยไม่ต้องการคำตอบ ได้แก่ ใคร อะไร สิ่งใด หรืออาจจะใช้คำซ้ำ เช่น
        ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเขา
        รู้สิ่งใดหรือจะสู้รู้วิชา
๒.๕  สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ใช้เเทนคำนามที่กล่าวมาก่อนเเล้ว และต้องการกล่าวซ้ำอีกโดย
ไม่ต้องเอ่ยคำนามนั้นอีกครั้ง ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
        ประชาชนต่างไปลงคะเเนนเสียงเลือกผู้เเทนราษฎร (ความหมายแยกแต่ทำในสิ่งเดียวกัน)
๒.๖  สรรพนามเชื่อมประโยค ใช้เเทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า และเมื่อต้องการกล่าวซ้ำ ทำหน้าที่เชื่อประโยค ๒ ประโยค เข้าด้วยกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น
        คนที่เดินมาเป็นน้องชั้น
        เมื่อเเยกประโยคจะได้ ดังนี้ คนเดินมา และ น้องฉัน ส่วนคำว่า ที่ เเทนคำว่า คน
๒.๗  สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด ใช้หลังคำนามเพื่อบอกความรู้สึกที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
        เด็กๆ แกหัวเราะเสียงดัง (บอกความรู้สึกเอ็นดู)
        คุณแอมเธอดีกับทุกคน (บอกความรู้สึกยกย่อง)
๓.  คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ หรือสภาพ หรือการกระทำในประโยค บางคำมีความหมายสมบูรณ์ แต่บางคำต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบ หรือใช้คำประกอบคำอื่นเพื่อให้ความหมายชัดขึ้น
คำกริยา แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
๓.๑  กริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ เรียกว่า "อกรรมกริยา" เช่น เดิน วิ่ง ร้องไห้
๓.๒  กริยาที่ต้องอาสัยกรรมมาทำให้สมบูรณ์ เรียกว่า "สกรรมกริยา" เช่น ทำ ซื้อ กิน
๓.๓  กริยาที่ช่วยให้กริยาอื่น มีความหมายชัดเจนขึ้น เรียกว่า "กริยานุเคราะห์" เช่น คง จะ น่า แล้ว อาจ นะ ต้อง
๓.๔  กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้มีความหมายสมบูรณ์ ส่วนเติมเต็มนี้ไม่ใช้กรรม คำกริยาดังกล่าว ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ
๓.๕  กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม อาจเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายประโยค คำกริยาชนิดนี้มักจะมีคำว่า "การ" เช่น พูด อย่างเดียวไม่ทำให้งานสำเร็จหรอก
๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ช่วยขยายคำอื่น ให้มีเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ มีดังนี้
๔.๑  ประกอบคำนาม เช่น คนงาม ชายหนุ่ม มะพร้าวอ่อน ผ้าบาง
๔.๒  ประกอบคำสรรพนาม เช่น เขาสูง เธอสวย มันดุ
๔.๓  ประกอบคำกริยา เช่น วิ่งเร็ว อยู่ไกล นอนมาก
๔.๔  ประกอบคำวิเศษณ์ เช่น อากาศร้อนมาก เธอดื่มน้ำเย็นจัด
๕. คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่ง หรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่นหรือกลุ่มคำอื่น เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือเเสดงความเป็นเจ้าของ เช่น คำว่า กับ แก่ แต่ ต่อ จาก เพื่อ โดย จน บน ใต้ กลาง ของ สำหรับ ระหว่าง เฉพาะ เช่น
      เเม่ทำเพื่อลูก              "เพื่อ"    เป็นบุพบทเเสดงอาการ
      เขามาเมื่อเช้านี้           "เมื่อ"    เป็นบุพบทนอกเวลา
      ลูกชายนั่งอยู่ข้างพ่อ    "ข้าง"   เป็นบุพบทบอกสถานที่
      ฉันเดินกับเขา               "กับ"    เป็นบุพบทบอกความเกี่ยวเนื่องกัน
๖.  คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ข้อความที่มีคำสันธานเชื่อมอยู่นั้นมักจะเเยกออกได้เป็นประโยคมากกว่าหนึ่งประโยค เช่น
        เเม่เต่าเดินเร็วแต่ลูกเต่าเดินช้า
        ติ๊กและต๊อกเป็นเด็กมีน้ำใจ
        ครูให้อภัยเขาเพราะเขาสำนึกผิด
        บ้านเเละโรงเรียนควรร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องเด็ก
๗.  คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางการเน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ
คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๗.๑  คำอุทานบอกอาการ ใช้บอกอาการในการพูดจากัน เช่น
       โธ่! ไม่น่าเลย                                     โอ๊ย! น่ากลัวจริง
       เอ๊ะ! ทำอย่างนี้ได้อย่างไร                 ตายแล้ว! ทำไมเป็นอย่างนี้
คำอุทานบอกอาการจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับอยู่ คำอุทานบอกอาการนี้ จะพูดออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ ฯลฯ
๗.๒  คำอุทานในบทร้อยกรอง คำอุทานเหล่านี้จะปรากฎอยู่ในบทร้อยกรอง เช่น อ้า โอ้ เอย เอ๋ย เฮย แล แฮ นา นอ ฯลฯ  ใช้เเทรกลงในถ้อยคำเพื่อความสละสลวย เช่น
                            โอ้ดวงเดือนก่ำฟ้า                     ชวนฝัน ยิ่งเอย
                   ในพฤกษ์จับเเสงจันทร์                      ป่ากว้าง
                   หมู่เเมลงเพรียกหากัน                        ดุจเพื่อน รักนา
                   ป่าปลอบผู้อ้างว้าง                            ปลดเศร้าอุราหมอง
                                                                                  จตุภูมิ วงษ์แก้ว
๗.๓ อุทานเสริมบท ใช้กล่าวเป็นการเสริมคำในการพูดเพื่อเน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น ทำให้สนุกในการออกเสียงให้น่าฟังขึ้น เช่น
      เธอไม่สบายต้องกินหยูกกินยานะ
      ช่วยหยิบถ้วยโถโอชามให้ด้วย
      เข้ามาดื่มน้ำดื่มท่าเสียก่อน
      ทำไมบ้านช่องถึงสกปรกอย่างนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
การนั่งสมาธิ
ด้วยวิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ดังนี้
การนั่งสมาธิเบื้องต้น
      1.กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้า หรือศีลแปด เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง

      2.คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่า ร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ

      3.นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง

       4.นึกกำหนดนิมิต เป็น ดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า สัมมา อะระหัง หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆกับคำภาวนา

    อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆกับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นปรากฏที่อื่นที่ไม่ใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆน้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆอีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม...


    แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์และเกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า ดวงธรรม หรือ ดวงปฐมมรรค อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตสามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะทำภารกิจใดๆ